เทยก็ว่าจะหาทำ หาพูด หาเมาท์กับคุณกิตติมาหลายรอบละค่ะ กับเรื่องราวของการเสพย์สื่อในยุคนี้นะเธอขา พวกเธอมีสมาร์ททีวี มีสมาร์ทโฟน มีอะไรติดมือกันแล้ว แน่นอนว่าอะไรๆ ในความอรรถรสละครมันก็เปลี่ยนไปเช่นกัน สัปดาห์ปลายเดือนต้นนี้ เทยก็เลยว่าจะชวนเมาท์เรื่องการเปลี่ยนผ่านของยุคหนังและละครแบบใหม่กันหน่อยค่ะ
พร้อมแล้ว ไปค่ะ
อย่ามาแอ๊บอายุ เทยรู้นะคะ ว่าหลายๆ คนก็ยังเกิดทันละครช่องมากสีน้อยสี 3 5 7 9 ในยุคที่ช่องทีวีอนาล็อกระบบ VSH ที่เป็นเจ้าของโดยกองทัพบกตั่งต่าง ทั่วประเทศไทย เราเองก็มีช่องทางการเสพย์สื่อที่ใช่ว่าจะมากมายอะไร เอาแบบที่เราเปิดดูกันได้เป็นประจำทุกค่ำเช้าจริงๆ ก็คือ 4 หัวเรือใหญ่นี้เองค่ะ
ละครในช่วงยุคนั้น มีเวลาออนแอร์ทั้งทีก็จะถือว่าสำคัญมาก เป็นเรื่องใหญ่ เพราะหากเลือกเวลาออนแอร์ได้ถูกต้อง ตรงกับตารางชีวิตของคนไทยแล้วล่ะก็ ละครเรื่องนั้นดังเปรี้ยงปร้างแน่นอน ก็แหงสิคะเธอขา ทำงานไปโรงเรียนเสร็จกลับบ้าน ทุกคนมีช่องที่ต้องดูอยู่ไม่กี่ช่อง มันแทบเป็นไปได้เลยว่าทั้งประเทศกำลังดูละครเรื่องเดียวกันอยู่เลยทีเดียว
ละครสมัยนั้นถูกแบ่งเวลาออกอากาศสำคัญอยู่คือละครก่อนข่าวกับละครหลังข่าว ซึ่งก็คือละครหกโมงเย็น กับละครหลังสองทุ่มครึ่ง และเมื่อเข้าสู่เวลาที่เราเรียกกันว่า Prime Time ทุกคนอาบน้ำกินข้าว ดูข่าว รอเวลานอนแล้วเนี่ย ช่วงเวลาสองทุ่มถึงสี่ทุ่ม เป็นช่วงเวลาที่เหมาะมาก ที่ละครจะมาสร้างความอรรถรสให้กับคนดู
ละครในยุคทีวีอนาล็อก จึงเป็นละครที่ถูกยกขึ้นหิ้งในระดับตำนานทั้งนั้น เราเอ่ยชื่อมาก็คือเราร้องอ๋อกันหมด เพราะทุกคนต่างเคยดูกันอย่างพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะเป็น คู่กรรม, สี่แผ่นดิน, มงกุฎดอกส้ม, แรงเงา, เมียหลวง, นางทาส หรือแม้แต่ละครที่ไม่ได้เป็นวรรณกรรมระดับตำนาน แต่ก็พอจะร้องอ๋อ รู้จักกันได้ เพราะความที่ออนแอร์ในเวลาที่เหมาะเจาะอย่าง เบญจา คีตา ความรัก, ปัญญาชน ก้นครัว, เขาวานให้หนูเป็นสายลับ, หรือแม้แต่ ซิทคอมเรื่องต่างๆ อย่าง เป็นต่อ หรือ บางรักซอยเก้า ก็ตามที
แน่นอนว่าความตำนาน มาพร้อมกับความผูกขาดของคอนเทนต์นะตัวเธอ ก็เขามีอยู่ไม่กี่ช่อง เวลาออนแอร์ก็จบถึงแค่เที่ยงคืน เพราะงั้นละครแต่ละเรื่องก็จะมีความผูกขาดในจำนวนตอน สามารถยืดเวลาออกอากาศไปได้ไกล ละครบางเรื่องมีจำนวนตอนมากกว่า 30 ตอน ถ่ายไปออนแอร์ไป โกยเรตติ้งไปได้เรื่อยๆ เลยทีเดียว ยิ่งทำให้ละครเรื่องนั้นๆ มีความเป็นตำนานมากขึ้นอีกเท่าตัวทีเดียว
แต่ช้าแต่ ความเปลี่ยนแปลงมาเคาะประตู เมื่อโลกดิจิทัลเปิดกว้าง อายุของผู้ชมรุ่นใหม่เริ่มตีไล่เข้ามา การปรับตัวของสื่อในยุคทีวีดิจิทัล และทีวีออนไลน์ ทำให้ละครและคอนเทนต์หลายๆค่ายต้องปรับตัวกันยกใหญ่ทีเดียวค่ะ เริ่มจากยุคคลื่นสัมปทานดิจิตอลเริ่มเข้ามา ทำให้ช่องรับสัญญาณทีวีมีมากขึ้นกว่าเดิม ช่องเลขน้อยมาก เดี๋ยวนี้ก็คือกลายเป็นหลายเลข หลายชื่อ หลายช่องกันไปแล้ว จากแค่ 3 5 7 9 ก็จะมีทั้ง Thairath TV มีช่อง 8 มีช่อง ONE และ GMM25 เช่นเดียวกัน
ช่องหลากหลายเหล่านี้ แม้จะเป็นสิ่งใหม่ แต่คอนเทนต์ที่ต้องนำมาใส่ตารางออนแอร์ ยังคงต้องมีเหมือนเดิม ทั้งรายการข่าว รายการวาไรตี้ และแน่นอนค่ะ “ละคร” ก็ยังคงต้องมีเหมือนเดิม
ค่ายผลิตละครจึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเลยค่ะแม่ และชิงกันด้วยความเข้มข้นของคอนเทนต์ที่จะเข้าถึงคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น รวมถึงนักแสดง ที่เริ่มไม่ค่อยมีสัญญาผูกกับช่องอีกต่อไป หากแต่เดินสายรับงานละคร มีซีนออนแอร์ได้หลายช่องหลายค่ายมากขึ้นเลยทีเดียวเชียว
ช่องละครเจ้าเก่า ด้วยความที่อยู่มานานอ่ะแม่ นางก็ปรับตัวด้วยการเอาละครขึ้นหิ้ง มาปัดฝุ่นรีเมกกันให้อุ่นหนาฝาคั่งเลยค่ะ เราก็เลยจะพบว่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ละครยุคเก่าเวอร์ชั่น 2010 กว่าๆ ก็มีกลับมาให้เราได้ชมกันมากขึ้น เพราะหวังจะเรียกฐานแฟนเดิม ให้กลับมาดูละครเรื่องเดิม แต่ในคุณภาพที่ชัดขึ้น เนื้อหาที่ทันยุคทันสมัยมากขึ้นนั่นเอง แต่ก็ว่าบาป โลกมันเปลี่ยนแปลงไปแล้วอ่ะเนอะ ความเป็นตำนานของละครขึ้นหิ้งมันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป แม้จะเป็นชื่อเดิม มีคนดูอยู่เหมือนเดิม แต่คนมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งประเทศอาจจะไม่ได้ดูละครเรื่องเดียวกันแบบเมื่อก่อนแล้วก็ได้
และสิ่งที่ท้าทายมากกว่าเดิมก็คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้ง WeTV, LINE TV หรือแม้แต่ Netflix ที่เป็นทางเลือกอันสะดวกดายแก่ชาวเรายุคใหม่ ทั้งสมาร์ทโฟน และสมาร์ททีวี ท่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และดูคอนเทนต์ออนไลน์ จากผู้ผลิตออนไลน์ ส่งตรงละครผ่านแพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องผ่านช่องใหญ่ ก็เป็นสิ่งที่ง่ายดายเอามากๆ เลยค่ะ เพราะในนั้นเต็มไปด้วยละครหรือซีรีส์ที่คุณภาพไม่ต่างจากในช่องสถานี แถมมีซีรีส์จากต่างประเทศมาให้เป็นตัวเลือกและเปรียบเทียบด้วย สร้างแรงแข่งขันในวงการสื่อเข้าไปอี๊ก
ในด้านของเนื้อหา ก็ยิ่งชัดเจนว่า คนยุคใหม่ ไม่ได้ต้องการละครอันอารัมภบทอีกต่อไป มายืดให้ยาว 30 ตอนก็คือว่าต้องพักค่ะแม่ ละครและคอนเทนต์ยุคนี้ จึงมาในรูปแบบซีรีส์ขนาดนั้น และพยายามทำให้เนื้อหาในตอนแรกๆ นั้นมีไฮไลท์ที่จุใจที่สุด ชนิดที่ว่า สามนาทีแรก มาถึงก็ต้องฟาดฟันกันเลย รอไม่ได้ ยิงตรงเข้าเนื้อหาเลยทันที
ด้วยความที่สื่อออนไลน์เน้นความไว ฉะนั้นละครเองก็ต้องมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ เรื่องราวที่ใกล้ชิดกับคนในยุคอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหม่ ในขณะที่ละครยุคเก่าที่รีเมกใหม่ แม้เนื้อหาจะจบลงแบบเดิม แต่ก็ต้องเสริมประเด็นที่คนยุคใหม่ต้องเข้าถึงไปด้วย อย่างเช่น “ล่า” ที่เมื่อเอามาทำใหม่ ก็ใส่ประเด็นของการที่สังคมออนไลน์ตัดสินการกระทำของมธุสรลงไป หรือซิทคอมอย่าง “บางรักซอย 9/1” ที่มาถึงรุ่นลูกแล้ว ก็ยังมีประเด็นของทางเลือกทางเพศของชัดแจ้งอีกด้วย ที่ช่วงแรกๆ ของซีซั่นเหมือนว่า ชัดแจ้ง จะชอบผู้ชายซะด้วย ซึ่งเป็นจุดบรรจบของคนดูสองยุคนั่นเอง
มิติของละครในยุคใหม่นี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไปนั่นแหละค่ะคุณกิตติขา แต่สุดท้าย เทยก็คิดว่าจะใหม่หรือเก่า สิ่งที่คนดูต้องการเหมือนกันคือเนื้อหาที่มีคุณภาพ และการแสดงที่ยอดเยี่ยม ในโลกที่คอนเทนต์เชื่อมต่อถึงกันทั้งโลก และคนเราต่างมีทางเลือกในการเสพย์สื่อ ทุกๆ ฝ่าย ต่างก็ต้องพัฒนาตัวเองด้วยกันทั้งนั้นแหละเนอะ
หาดู หาชมละครกันให้อรรถรสเถิดเธอ
เหยี่ยวเทย รายงาน
July 07, 2020 at 01:22PM
https://ift.tt/2ZKO6Pj
“ดูย้อนออนไลน์” ฟาด “ตารางออนแอร์ทีวี” สองมิติละครในยุคใหม่ โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์ - Sanook
https://ift.tt/2ABr4S3
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“ดูย้อนออนไลน์” ฟาด “ตารางออนแอร์ทีวี” สองมิติละครในยุคใหม่ โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์ - Sanook"
Post a Comment